1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เเละเพราะอะไร
ตอบ ถือว่าเป็น นวัตกรรมประเภทการเรียนการสอน เพราะ เป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปเเบบออนไลน์ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยถ้าผู้เรียนสนใจในวิชาไหน ก็สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้เเละจะมีวิดีโอการสอนจากอาจารย์ เเละวิดีโอนี้จะไม่ใช่เพียงเเต่สอนเพียงอย่างเดียวเเต่จะมีปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วย โดยการถามคำถามให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการคิด อีกทั้งผู้เรียนยังสามารถทำเเบบทดสอบเเละพูดคุยปัญหาเกี่ยวกับโจทย์หรือปัญหาต่างๆได้กับเพื่อนๆผู้เรียน ในกระทู้การสนทนาเพื่อสนทนาเเรกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาเเบ่งออกได้กี่ประเภทเเละเเต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
ตอบ เเบ่งออกได้ 5 ประเภท
1.นวัตกรรมหลักสูตร
ข้อดี ทำให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพเเวดล้อมในท้องถิ่นเเละตอบสนองความต้องการ ในการจัดการเรียนการสอนที่ก้าวหน้าทันสมัยมากยิ่งขึ้น
* มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสูงสุด ทำให้เกิดการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และ เนื้อหาวิชา
* เนื้อหาผสมผสานกัน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ทำให้สอดคล้อง กับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนและสังคม
* มีการคัดเลือกเนื้อหาอย่างรอบคอบ และการเรียบเรียงประสบการณ์อย่างดี ทำให้เกิด ประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
* ส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน รวมทั้งส่ง เสริมการค้นคว้าวิจัย
* เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนา คุณลักษณะต่าง ๆ ในตนเองและส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี เป็นการคิดค้นเเละหาเเนวทางในการเรียนการสอนเเบบใหม่ๆเพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียน สภาพเเวดล้อม รวมถึงปัจจัยต่างๆ
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี ทำให้เป็นตัวเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนเรื่องนั้นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น เเละ เป็นเเรงพลักดันให้เด็กๆมีความสนใจเเละเเรงจูงใจในการเรียนเพิ่มยิ่งขึ้น
* เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
* ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
* ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
* ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการ เรียนได้เป็นอย่างดี
* ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ใน ห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อน ร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroupแสดงความคิด เห็นได้อย่างอิสระ
4.นวัตกรรมการประเมิน
ข้อดี เพิ่มความสะดวกสบาย รวดเร็วเเละมีประสิทธิเพิ่มมากยิ่งขึ้นในการประเมินผล
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ข้อดี ทำให้มีความเป็นระบบระเบียบ เรียบร้อย รวดเร็ว เเละมีประสิทธิภาพในการบริหารงาน เเละจัดการในองค์กรนั้นๆ
3. สมมุติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความเเตกต่างระหว่างบุลคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนเเละเพราะเหตุใดจึงเลือกนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ CAI : Computer Assisted Instruction หรือ Computer Aided Instruction
เพราะระบบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็ว ของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ การเรียนการสอนของการเรียนเป็นราย บุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถ ของแต่ละบุคคลที่จะ เรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคนโดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง (respond) และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ(feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถ ให้ข้อมูลกลับแก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ระบบการเจียดเวลา
4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครูจึงต้องรู้เเเละเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะเป็นการพัฒนาการศึกษาทางหนึ่ง เป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูทั่วไป เช่น การใช้ผลิตเนิ้อหาให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้นักเรียน เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้าสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดี รอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนเป็นต้น หรือนักเรียนที่เรียนได้ตามปกติ ก็ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อีกด้วย หรือในขณะเดียวกัน ครูจะต้องมีการเตรียมการที่ดี วางเเผนการชี้เเนะที่ดี เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลที่ดีขึ้นเเละยังเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการสร้างเนื้อหาให้แก่ครูด้วยกันอีกด้วย เป็นการสร้างโอกาสในการเรียนตามนโยบายการศึกษา "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" และยังเป็นการเเก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน เป็นการสร้างนวตกรรมใหม่เพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเเละเหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย เเละนอกจากจะช่วยในเรื่องการจัดการเรียนการสอนเเล้ว ยังช่วยจัดการเเละบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำระบบ MIS, EIS, Decision, Support System (DSS) เข้ามาช่วยจัดระบบฐานข้อมูลการศึกษาเป็นต้นในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่างๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ครูต้องเรียนรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเพื่อสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษา
สรุปได้ 1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคงยึดรูป แบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอน ด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะ นอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความ คิดและสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย เพื่อทำให้ นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้น หาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอน บรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการ เรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่ง ให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อ การสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างเเพร่หลายในปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายข้อดีเเละข้อจำกัด ของนวัตกรรมเเละเทคโนโลยีทางการศึกษานั้นๆมา1ข้อ
ตอบ CAI : Computer Assisted Instruction หรือ Computer Aided Instruction
ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถ ของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง (respond) และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ (feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลกลับแก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ระบบการเจียดเวลา (Time Sharing)
2. ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ ทุกเวลาที่ต้องการจะเรียนในทุกๆ แห่ง
3. ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถที่จะแสดงภาพ ลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทย การต่อวงจรระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสื่ออื่น ให้เสนอบทเรียนในเวลาที่เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นม
4. ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ เนื่อง จากคอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือ แผ่นดิสก์ได้ครั้งละมาก ๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์ สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที
ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศเกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่ ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง จำเป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะ สมกับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น