1. สรุปเนื้อเรื่อง Inside
Out
คอนเซปท์ของเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของอารมณ์กับการทำงานของสมองทั้ง “ความทรงจำระยะสั้น” และ “ความทรงจำระยะยาว” และเป็นเรื่องที่พยายามศึกษาและถ่ายทอด
เรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์ การทำงานของสมอง การเข้าใจเรียนรู้ภาวะซึมเศร้า
หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้จะยอมรับตัวเอง ไอเดียของเรื่อง Inside Out ค่อนข้างจะน่าทึ่ง มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของไรลีย์
เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องย้ายบ้านตามพ่อแม่
แล้วหลังจากนั้นก็ประสบปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ แต่เบื้องหลังแล้ว ด้านในหัวของไรลีย์
สิ่งที่ตอบสนองต่อสถานการณ์พวกนี้ล้วนเป็นเรื่องของ “อารมณ์และการทำงานด้านสมอง”
ในหนังมีแบ่งตัวที่ควบคุมสมองเป็นอารมณ์ห้าแบบ
- Joy (สุขสันต์ หรือ ลั้ลลา)- Sadness (เศร้าหมอง)
- Fear (ความกลัว)
- Anger (ความโกรธ)
- Disgust (ขยะแขยง)
- Joy (สุขสันต์ หรือ ลั้ลลา)- Sadness (เศร้าหมอง)
- Fear (ความกลัว)
- Anger (ความโกรธ)
- Disgust (ขยะแขยง)
ทุกสถานการณ์ที่ตัวอารมณ์เหล่านี้ตอบสนอง
จะก่อให้เกิดเป็นลูกบอลความทรงจำซึ่งจะไหลมาเก็บไว้ที่ “ความทรงจำระยะสั้น” ซึ่งอยู่ใกล้กับแผงควบคุม
อารมณ์ทั้งห้าสามารถหยิบของพวกนี้มาใช้ได้ในทันที
หลังจากนั้นลูกบอลบางส่วนจะถูกส่งไปยังสถานที่เก็บ “ความทรงจำระยะยาว”
ซึ่งเกี่ยวพันกับการสร้างตัวบุคลิกของตัวไรลีย์ขึ้นมา และหัวหน้าทีมที่คอยนำ “อารมณ์” ของไรลีย์ก็คือ ลั๊นลา แต่แล้ววันหนึ่ง ลั๊นลา
กับเศร้าซึม ต้องระหกระเหินออกจากศูนย์บัญชาการ ทำให้ทั้งสามตัวที่เหลือคือ Fear
(ความกลัว) , Anger (ความโกรธ)และ Disgus (ความขยะแขยง) เป็นตัวควบคุมศูนย์กลางแทน
หลังจากนั้นชีวิตของไรลีย์ย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ
เพราะเธอตอบสนองสถานการณ์ภายนอกด้วยความโกรธ, ความกลัว
และความรู้สึกขยะแขยงแทน หลังจากนั้นลั๊นลาก็พยายามหาวิธีกลับสู่ศูนย์กลางเพื่อที่จะทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขดังเดิม
และสุดท้ายลั๊นลาและเศร้าซึมก็สามารถกลับมาสู่ศูนย์กลางการควบคุมอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้ไรลีย์กลับมามีความสุขดังเดิม และไรลีย์ก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจึงทำให้แผงควบคุมศูนย์กลางเพิ่มขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
2.ได้อะไรจากหนังเรื่อง Inside Out
ตอบ 1. คนเราเกิดมาก็ย่อมมีอารมณ์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปและทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาก็ล้วนมีทั้งประโยชน์และโทษ เช่น
- ความกลัวทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น
- ความขยะแขยงกับความโกรธ... อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงบางอย่างที่เราไม่ชอบ เพื่อจะรักษา ความสุขของเราเอาไว้ได้บ้าง หรือไม่ก็เป็นการบอกกับคนอื่นว่า “ฉันไม่พอใจนะ ฉะนั้นช่วยถอยไปห่างๆหรือช่วยเงียบก่อนไหม
- ความสุขสันต์นั้นไม่ต้องพูดถึง มีประโยชน์เห็นๆ
- ความเศร้าซึมก็สอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เช่นเห็นคนอกหัก ถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเราเองแต่ก็ทำให้เรารู้สึกเห็นใจผู้อื่น
2. ความรู้และความทรงจำต่างๆถ้าเรานำมาคิดหรือใช้บ่อยๆมันก็จะกลายเป็นความจำฝังลึกหรือความจำระยะยาวที่เราจำได้แม่น แต่ความรู้หรือความทรงจำไหนที่เราไม่มีการใช้งานมันก็จะหายและลบไป
3. ภายในตัวของเราก็จะมีโลกแห่งความฝันและจินตนาการของทุกคนที่ใฝ่ฝันต่างๆนาๆและมันเป็นสิ่งที่เราชอบและทำให้เรามีความสุข
4. ยิ่งเราโตขึ้นความคิดและอารมณ์ของเราก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
2.ได้อะไรจากหนังเรื่อง Inside Out
ตอบ 1. คนเราเกิดมาก็ย่อมมีอารมณ์ที่หลากหลายแตกต่างกันไปและทุกอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาก็ล้วนมีทั้งประโยชน์และโทษ เช่น
- ความกลัวทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น
- ความขยะแขยงกับความโกรธ... อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เราหลีกเลี่ยงบางอย่างที่เราไม่ชอบ เพื่อจะรักษา ความสุขของเราเอาไว้ได้บ้าง หรือไม่ก็เป็นการบอกกับคนอื่นว่า “ฉันไม่พอใจนะ ฉะนั้นช่วยถอยไปห่างๆหรือช่วยเงียบก่อนไหม
- ความสุขสันต์นั้นไม่ต้องพูดถึง มีประโยชน์เห็นๆ
- ความเศร้าซึมก็สอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เช่นเห็นคนอกหัก ถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับตัวเราเองแต่ก็ทำให้เรารู้สึกเห็นใจผู้อื่น
2. ความรู้และความทรงจำต่างๆถ้าเรานำมาคิดหรือใช้บ่อยๆมันก็จะกลายเป็นความจำฝังลึกหรือความจำระยะยาวที่เราจำได้แม่น แต่ความรู้หรือความทรงจำไหนที่เราไม่มีการใช้งานมันก็จะหายและลบไป
3. ภายในตัวของเราก็จะมีโลกแห่งความฝันและจินตนาการของทุกคนที่ใฝ่ฝันต่างๆนาๆและมันเป็นสิ่งที่เราชอบและทำให้เรามีความสุข
4. ยิ่งเราโตขึ้นความคิดและอารมณ์ของเราก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
3. ดูหนัง Inside
Out แล้วเอาไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญา
ตอบ 1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนังเมื่อไรลีย์มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเด็กๆ ตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่ดีขึ้น
2. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกละทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่าถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
3.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ว่าด้วยเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อเป็นครบวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง เป็นการรู้ของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่เรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนประสบการณ์ ระดับความสามารถ เหมือนที่ไรลีย์มีความสามารถทางด้านกีลาฮ๊อกกี้และมีประสบการณ์ในการเล่นเพราะเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ
ตอบ 1. ทฤษฎีของเพียเจต์ (Piaget) จากหนังเมื่อไรลีย์มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ไรลีย์ก็สามารถมีความคิดที่ซับซ้อนและมีเหตุผลมากยิ่งขึ้นกว่าตอนเด็กๆ ตามทฤษฎีของเพียเจต์ก็มีการแบ่งพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กออกเป็นช่วงอายุ และแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆก็จะมีพัฒนาการทางความคิดที่ดีขึ้น
2. ทฤษฎีของออซูเบล (Ausubel) จากหนังตอนที่มีตัวการ์ตูนที่เป็นเสมือนคนดูแลความสะอาดในเรื่องของความทรงจำถ้าความทรงจำไหนไม่เป็นประโยชน์ก็จะถูกละทิ้งลงถังขยะไป ก็เปรียบเสมือนคนเราตามทฤษฎีของออซูเบล ที่กล่าวว่าถ้าสิ่งนั้นไม่สร้างความหมายให้ต่อผู้เรียนสิ่งนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
3.ทฤษฎีของคลอสไมเออร์(Klausmeier) ว่าด้วยเรื่องความทรงจำตอนแรกก็จะเก็บเป็นความทรงจำระยะสั้น หลังจากนั้นถ้ามันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อเราเราก็จะจำและเป็นความทรงจำระยะยาว เหมือนในหนังInside Out ที่มีการเก็บความทรงจำของไรลีย์แทนลูกแก้วที่ใช้เก็บความทรงจำและเมื่อเป็นครบวันก็จะเอาไปเก็บเป็นความทรงจำระยะยาวต่อไป
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง เป็นการรู้ของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่เรียนรู้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนประสบการณ์ ระดับความสามารถ เหมือนที่ไรลีย์มีความสามารถทางด้านกีลาฮ๊อกกี้และมีประสบการณ์ในการเล่นเพราะเล่นมาตั้งแต่เด็กๆ
ชอบแนวคิดที่อธิบายของ อองฯ ทำได้ดีครับเอ้
ตอบลบ